วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

รัลการที่4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Thomson, King Mongkut of Siam.jpg
พระมหากษัตริย์สยาม
ครองราชย์ 2 เมษายน พ.ศ. 2394
ราชาภิเษก 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394
สถาปนา 2 เมษายน พ.ศ. 2394
ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถัดไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ระยะเวลาครองราชย์ 17 ปี
พระอัครมเหสี สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี
(พ.ศ. 2394-2395)
พระมเหสี พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์
(พ.ศ. 2396-2404)
พระราชบุตร 82 พระองค์
วัดประจำรัชกาล
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระราชมารดา สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
ประสูติ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347
พระราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร ไทย
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติวงศ์
สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411
พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร ไทย
ลายพระอภิไธย
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานในพระราชนิเวศน์เดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวราราม[1] เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติในวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ยังเป็นโทศก พ.ศ. 2394 รวมดำรงสิริราชสมบัติ 16 ปี 6 เดือน และมีพระราชโอรส - พระราชธิดารวมทั้งสิ้น 82 พระองค์ พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 รวมพระชนมพรรษา 64 พรรษา วัดประจำรัชกาล คือ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

พระราชประวัติ

ขณะทรงพระเยาว์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166 ซึ่งตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347พระราชวังเดิม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดา เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร[2] โดยพระนามก่อนการมีพระราชพิธีลงสรงเฉลิมพระนามว่า "ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่"
พระองค์มีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระราชมารดา รวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระองค์จึงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่มีพระชนม์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[3]
เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จขึ้นครองสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์แล้ว พระองค์ได้เสด็จเข้ามาอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่ง พ.ศ. 2355 พระองค์มีพระชนมายุได้ 9 พรรษา จึงได้จัดการพระราชพิธีลงสรงเพื่อเฉลิมพระนามเจ้าฟ้าอย่างเป็นทางการ พระราชพิธีในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชดำริว่า พระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าได้ทำเป็นอย่างมีแบบแผนอยู่แล้ว แต่การพระราชพิธีลงสรงตั้งพระนามเจ้าฟ้าครั้งกรุงศรีอยุธยายังหาได้ทำเป็นแบบอย่างลงไม่[4] รวมทั้ง ผู้ใหญ่ที่เคยเห็นพระราชพิธีดังกล่าวก็แก่ชราเกือบจะหมดตัวแล้ว เกรงว่าแบบแผนพระราชพิธีจะสูญไป พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีและ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด) เป็นผู้บัญชาการพระราชพิธีลงสรงในครั้งนี้เพื่อเป็นแบบแผนของพระราชพิธีลง สรงสำหรับครั้งต่อไป พระราชพิธีในครั้งนี้จึงนับเป็นพระราชพิธีลงสรงครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ได้รับการเฉลิมพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติวงศ์ พงอิศวรกษัตริย์ ขัติยราชกุมาร" ในปี พ.ศ. 2359 พระองค์มีพระชนมายุครบ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถมีพระราชดำรัสจัดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ตามแบบอย่างพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าที่มีมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยได้สร้างเขาไกรลาสจำลองไว้บริเวณหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
พระองค์ทรงศึกษาอักษรสยามในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม ตั้งแต่เมื่อครั้งยังประทับ ณ พระราชวังเดิม นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาวิชาคชกรรมกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช รวมทั้ง ทรงฝึกการใช้อาวุธต่าง ๆ ด้วย[5]

ผนวช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น