วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ พระเจ้าอู่ทอง
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
Phrajaouthong06.jpg

ราชวงศ์ ราชวงศ์อู่ทอง
ครองราชย์ พ.ศ. 1893
ระยะครองราชย์ 20 ปี
รัชกาลถัดไป สมเด็จพระราเมศวร
ข้อมูลส่วนพระองค์
สวรรคต พ.ศ. 1912
พระราชชนก มีหลายตำนาน
พระราชชนนี มีหลายตำนาน
พระมเหสี ไม่ปรากฏพระนาม
(พระกนิษฐาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1)
พระราชบุตร - สมเด็จพระราเมศวร
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ พระเจ้าอู่ทอง (พ.ศ. 1857 - พ.ศ. 1912) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกในราชวงศ์อู่ทองแห่งอาณาจักรอยุธยา

พระปรมาภิไธย

  • สมเด็จพระรามาธิบดี (หลังจากขึ้นครองราชย์)
  • พระเจ้าอู่ทอง (กษัตริย์ผู้ครองเมืองอู่ทองแคว้นสุพรรณภูมิ)
  • สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทร บรมมหาจักรพรรดิศรราชาธิราช (ในโองการแช่งน้ำ)
  • สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสุนทรบรมจักรพัตราธิราช (ในกฎหมายลักษณะอาญาราษฎร์)
  • สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุรินทร บรมจักรพรรดิศร บวรมหาธรรมิกราชาธิราช (ในกฎหมายลักษณะอาญาหลวง)

ที่มาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับที่มาของพระเจ้าอู่ทองสรุปได้ดังนี้[1]
แนวความคิดที่ 1
จดหมายเหตุลาลูแบร์ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ ระบุว่าพระเจ้าอู่ทองอพยพมาจากเชียงแสน
แนวความคิดที่ 2
จดหมายเหตุวันวลิตระบุว่าทรงอพยพมาจากเมืองเพชรบุรี
แนวความคิดที่ 3
ชินกาลมาลินีและพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ว่าพระเจ้าอู่ทองมาจากละโว้
ตามหลักฐานและโบราณคดี
ทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ในแนวคิดที่ 4 5 และ 6 สามารถผนวกรวมกันได้ กล่าวคือ เมื่อพิจารณาตำนานทั้งหลายแล้ว เจ้าชายวรเชษฐ์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมราชา กษัตริย์แห่งอาณาจักรละโว้ (แนวความคิดที่ 6) ต่อมาพระราชชนกโปรดให้ไปครองเมืองพริบพรี (แนวความคิดที่ 4) และหลังจากพระราชชนกเสด็จสวรรคตแล้ว ทรงกลับมาครองเมืองอโยธยา (แนวความคิดที่ 5) จากนั้นจึงเกิดโรคระบาด จึงทรงย้ายที่ตั้งเมืองมายังตำแหน่งปัจจุบัน[2] [3]

พระราชประวัติ

จดหมายเหตุโหรระบุ ว่าพระเจ้าอู่ทองเสด็จพระราชสมภพในปี พ.ศ. 1857 ได้ทรงสถาปนาเมืองหลวงขึ้นในบริเวณที่หนองโสนเมื่อ จ.ศ. 712 ปีขาล โทศก วันศุกร์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 เวลา 3 นาฬิกา 9 บาท ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893[1] เมื่อครองราชย์ได้รับเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว[4] ถึงปีระกา พ.ศ. 1912 เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 20 ปี[5]

พระราชกรณียกิจ

การสงครามกับเขมร

ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระองค์ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับแว่นแคว้นต่างๆมากมาย แม้กระทั่ง ขอม ซึ่งก็เป็นมาด้วยดีจนกระทั่งกษัตริย์ขอมสวรรคต พระราชโอรสนาม พระบรมลำพงศ์ ทรงขึ้นครองราชย์ ซึ่งพระบรมลำพงศ์ก็แปรพักตร์ไม่เป็นไมตรีดังแต่ก่อน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จึงให้สมเด็จพระราเมศวรยกทัพไปตีกัมพูชา และให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ทรงยกทัพไปช่วย จึงสามารถตีเมืองนครธมแตกได้ พระบรมลำพงศ์สวรรคตในศึกครั้งนี้ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 จึงแต่งตั้ง ปาสัต พระราชโอรสของพระบรมลำพงศ์เป็นกษัตริย์ขอม ..

ตรากฎหมาย

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงประกาศใช้กฎหมายถึง 10 ฉบับ ในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่
ในประวัติศาสตร์บางแหล่งบอกว่ามีมากกว่านี้ แต่เท่าที่หาหลักฐานได้ มีเพียงเท่านี้เท่านั้น

การศาสนา

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างวัดต่าง ๆ เช่น วัดพุทไธศวรรย์ (สร้างปี พ.ศ. 1876) วัดป่าแก้ว (สร้างปี พ.ศ. 1900) และวัดพระราม (สร้างปี พ.ศ. 1912)

พระโอรส

รายการอ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 49
  2. พระเจ้าอู่ทองมาจากนครวัดในเขมร (หลักฐานเพิ่มเติมครั้งที่ ๓) จากผู้จัดการออนไลน์
  3. อณาจักรอยุธยา คือ กลุ่มคนกลุ่มไหนเป็นผู้ก่อตั้งอณาจักร จากพันทิปดอตคอม
  4. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 38
  5. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 41
บรรณานุกรม
  • จิตร ภูมิศักดิ์. ข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา. ดวงกมล : กรุงเทพฯ, 2524.
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
Ramkhamhaeng the Great.jpg

พระปรมาภิไธย พ่อขุนรามราช
พระอิสริยยศ กษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย
ราชวงศ์ ราชวงศ์พระร่วง
ครองราชย์ พ.ศ. 1822-พ.ศ. 1841
(โดยประมาณ)
รัชกาล 19 ปี (โดยประมาณ)
รัชกาลก่อน พ่อขุนบานเมือง
รัชกาลถัดไป พระยาเลอไทย
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ ระหว่าง พ.ศ. 1780-1790
สวรรคต พ.ศ. 1841
พระราชบิดา พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พระราชมารดา นางเสือง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ พญาร่วง เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการยกย่องเป็น "มหาราช" ด้วยทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี

พระราชประวัติ

พระประสูติกาล

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง พระเชษฐาองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหง ยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาองค์ที่สองทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า "พระยาบานเมือง" ซึ่งได้เสวยราชย์ต่อจากพระราชบิดา และเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็เสวยราชย์แทนต่อมา
ตามพงศาวดารโยนก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย พญามังรายมหาราชแห่งล้านนา และพญางำเมืองแห่งพะเยา เป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน ณ สำนักพระสุกทันตฤๅษี ที่เมืองละโว้ จึงน่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยพญามังรายประสูติเมื่อ พ.ศ. 1782 พ่อขุนรามฯ น่าจะประสูติในปีใกล้เคียงกันนี้

พระนาม

เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุสิบเก้าพรรษา ได้ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยต่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อยู่บนน้ำแม่สอดใกล้จังหวัดตาก แต่อาจจะอยู่ในเขตประเทศพม่าในปัจจุบัน) พระราชบิดาจึงทรงขนานพระนามว่า "พระรามคำแหง" ซึ่งแปลว่า "พระรามผู้กล้าหาญ"
ราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐาน ว่า พระนามเดิมของพระองค์คือ "ราม" เพราะปรากฏพระนามเมื่อเสวยราชย์แล้วว่า "พ่อขุนรามราช" อนึ่ง สมัยนั้นนิยมนำชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน ซึ่งตามศิลาจารึกหลักที่ 11 พระราชนัดดาของพระองค์มีพระนามว่า "พระยาพระราม" และในชั้นพระราชนัดดาของพระราชนัดดา ในเหตุการณ์การแย่งชิงราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1962 ตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ปรากฏเจ้าเมืองพระนามว่า "พระยาบาลเมือง" และ "พระยาราม"

การเสวยราชย์

นายตรี อมาตยกุล ได้เสนอว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชน่าจะเสวยราชย์ พ.ศ. 1820 เพราะเป็นปีที่ทรงปลูกต้นตาลที่สุโขทัย
ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต จึงได้หาหลักฐานมาประกอบพบว่า กษัตริย์ไทยอาหมถือประเพณีทรงปลูกต้นไทรตอน ขึ้นเสวยราชย์อย่างน้อยเจ็ดรัชกาลด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่อสร้างโชคชัยว่ารัชกาลจะอยู่ยืนยงเหมือนต้นไทร อนึ่ง ต้นตาลและต้นไทรเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของลังกาจนทำหาย

พระราชกรณียกิจ

รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นยุคที่กรุงสุโขทัยเฟื่องฟูและเจริญ ขึ้นกว่าเดิมเป็นอันมาก ระบบการปกครองภายในก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ประชาชนอยู่ดีกินดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทั้งทางเกษตร การชลประทาน การอุตสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยได้ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล

การเมืองการปกครอง

เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงขจัดอิทธิพลของเขมรออกไปจากกรุงสุโขทัยได้ในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 การปกครองของกษัตริย์สุโขทัยได้ใช้ระบบปิตุราชาธิปไตยหรือ "พ่อปกครองลูก" ดังข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า คำพูด"....เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่อบ้านท่อเมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู.."
ข้อความดังกล่าวแสดงการนับถือบิดามารดา และถือว่าความผูกพันในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ ครอบครัวทั้งหลายรวมกันเข้าเป็นเมืองหรือรัฐ มีเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว
ปรากฏข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้พระราชอำนาจในการยุติธรรมและนิติบัญญัติไว้ดัง ต่อไปนี้ 1) ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบหรือ ภาษีผ่านทาง 2) ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตร และ 3) หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกาต่อพระมหา กษัตริย์ได้ พระองค์ก็จะทรงตัดสินด้วยพระองค์เอง
นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังทรงใช้พุทธศาสนาเป็น เครื่องช่วยในการปกครอง โดยได้ทรงสร้าง "พระแท่นมนังคศิลาบาตร"ขึ้นไว้กลางดงตาล เพื่อให้พระเถรานุเถระแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จประทับเป็นประธานให้เจ้านายและข้าราชการปรึกษาราชการร่วมกัน

เศรษฐกิจและการค้า

โปรดให้สร้างทำนบกักน้ำที่เรียกว่า “สรีดภงส์” เพื่อนำน้ำไปใช้ในตัวเมืองสุโขทัยและบริเวณใกล้เคียง โดยอาศัยแนวคันดินที่เรียกว่า “เขื่อนพระร่วง” ทำให้มีน้ำสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคในยาม ที่บ้านเมืองขาดแคลนน้ำ
ทรงส่งเสริมการค้าขายอย่างเสรีภายในราชอาณาจักรด้วยการไม่เก็บภาษีผ่าน ด่านหรือ “จกอบ” (จังกอบ) จากบรรดาพ่อค้าที่เข้ามาค้าขายในกรุงสุโขทัย ดังคำจารึกบนศิลาจารึกว่า "เจ้าเมือง บ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง" นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่ปรากฏว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงส่งเสริมให้ชาวสุโขทัยนิยมการค้าขายนั้น ปรากฏตามศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า "เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจะใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า" อันเป็นการแสดงให้เห็นว่า ทรงเปิดเสรีทุกประการในการค้าขายทำให้การค้าขายขยายออกไปอย่างกว้างขวางจน ปรากฏแหล่งการค้าสำคัญในสุโขทัยได้แก่ "ตลาดปสาน" จากศิลาจารึกกล่าวว่า "เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัย มีตลาดปสาน"
ในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจอย่าง "จีน" โดยนอกจากการเพิ่มพูนสัมพันธไมตรีตามปกติแล้ว ยังโปรดให้นำช่างจากชาวจีนมาเพื่อก่อตั้งโรงงานตั้งเตาทำถ้วยชามทั้งเพื่อ ใช้ในประเทศ และสามารถส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงได้ด้วย ถ้วยชามที่ผลิตในยุคนี้เรียกว่า "ชามสังคโลก"

ศาสนาและวัฒนธรรม

ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แทนตัวอักษรขอมที่เคยใช้กันมาแต่เดิม เมื่อ พ.ศ. 1826 เรียกว่า “ลายสือไทย” และได้มีการพัฒนาการมาเป็นลำดับจนถึงอักษรไทยในยุคปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีอักษรไทยใช้มาจนถึงทุกวันนี้
โปรดให้จารึกเรื่องราวบางส่วนที่เกิดในสมัยของพระองค์ โดยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ทำให้คนไทยยุคหลังได้ทราบ และนักประวัติศาสตร์ได้ใช้ศิลาจารึกดังกล่าวเป็นข้อมูลหลักฐานในการศึกษาค้น คว้าเรื่องราวประวัติศาสตร์สุโขทัย
ทรงรับเอาพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จากลังกา ผ่านเมืองนครศรีธรรมราช มาประดิษฐานที่เมืองสุโขทัย ทำให้พระพุทธศาสนาวางรากฐานมั่นคงในอาณาจักรสุโขทัย และเผยแผ่ไปยังหัวเมืองต่างๆในราชอาณาจักรสุโขทัย จนกระทั่งได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงทุกวันนี้
เมื่อพระพุทธศาสนาได้มาตั้งมั่นที่นครศรีธรรมราช พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงให้นิมนต์พระเถระ ชั้นผู้ใหญ่จากเมืองนครศรีธรรมราชไปตั้งเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่กรุงสุโขทัย ด้วย และนับเป็นการเริ่มการเจริญสัมพันธไมตรีกับลังกา อีกทั้งทรงได้สดับกิตติศัพท์ของ "พระพุทธสิหิงค์" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เจ้าราชวงศ์ลังกาสร้างขึ้นด้วยพระพุทธลักษณะที่งดงาม และมีความศักดิ์สิทธิ์ จึงทรงให้พระยานครศรีธรรมราช เจ้าประเทศราชแต่งสาส์นให้ทูตถือไปยังลังกา เพื่อขอเป็นไมตรีและขอพระราชทานพระพุทธสิหิงค์มาเพื่อเป็นพระคู่บ้านคู่ เมืองไทยสืบไป

อาณาเขต

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางไพศาล คือ
ทิศตะวันออก ทรงปราบได้เมืองสรหลวงสองแคว (พิษณุโลก), ลุมบาจาย, สะค้า (สองเมืองหลังนี้อาจอยู่แถวลุ่มแม่น้ำน่านหรือแควป่าสักก็ได้), ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเวียงจันทน์และเวียงคำในประเทศลาว
ทิศใต้ ทรงปราบได้คนที (บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร), พระบาง (นครสวรรค์), แพรก (ชัยนาท), สุพรรณภูมิ, ราชบุรี, เพชรบุรี, และนครศรีธรรมราช โดยมีฝั่งทะเลสมุทร (มหาสมุทร) เป็นเขตแดนไทย
ทิศตะวันตก ทรงปราบได้เมืองฉอด, เมืองหงสาวดี และมีสมุทรเป็นเขตแดนไทย
ทิศเหนือ ทรงปราบได้เมืองแพร่, เมืองน่าน, เมืองพลัว (อำเภอปัว น่าน), ข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองชวา (หลวงพระบาง) เป็นเขตแดนไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ภาพด้านหลังธนบัตรไทยชนิดราคา 20 บาท (ชุดที่ 16) รูปพระบรมราชานุสาวรีย์ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
การใช้ความสัมพันธ์ทางด้านการทูตและความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะทางด้านพระพุทธศาสนาแทนการทำสงคราม ทำให้สุโขทัยมีแต่ความสงบร่มเย็น ไม่เกิดสงครามกับแคว้นต่างๆ ในสมัยของพระองค์ และได้หัวเมืองประเทศราชเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ทรงทำพระราชไมตรีกับพญามังรายมหาราชแห่งล้านนา และพญางำเมืองแห่งพะเยา โดยทรงยินยอมให้พญามังรายมหาราชขยายอาณาเขตล้านนาทางแม่น้ำกก แม่น้ำปิง และแม่น้ำวังได้อย่างสะดวก เพื่อให้เป็นกันชนระหว่างจีนกับสุโขทัย กับทั้งยังได้เสด็จไปทรงช่วยเหลือพญามังรายมหาราชหาชัยภูมิสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1839 ด้วย
ทางอาณาจักรมอญ มีพ่อค้าชื่อ "มะกะโท" เข้ารับราชการอยู่ในราชสำนักของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มะกะโทได้ผูกสมัครรักใคร่กับ "เจ้าเทพธิดาสร้อยดาว" พระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แล้วพากันหนีไปอยู่เมืองเมาะตะมะ แล้วจึงขออภัยโทษต่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขอพระราชทานนาม และขอยินยอมเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงได้พระราชทานนามว่า "พระเจ้าฟ้ารั่ว"[ต้องการอ้างอิง]
ทางทิศใต้ ได้ทรงอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชผู้เรียนจบพระไตรปิฎกมาจากนครศรีธรรมราช ให้มาเผยแพ่พุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย
ส่วนด้านเมืองละโว้นั้นทรงปล่อยให้เป็นเอกราชอยู่ เพราะปรากฏว่ายังส่งเครื่องบรรณาการไปจีนอยู่ระหว่าง พ.ศ. 1834 ถึง พ.ศ. 1840 ทั้งนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็คงจะได้ทรงผูกไมตรีกับเมืองละโว้ไว้ นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเองก็ทรงส่งราชทูตไปจีนสามครั้งเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี

ประดิษฐกรรม

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. 1826 ตัวหนังสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีลักษณะพิเศษกว่าตัวหนังสือของชาติอื่นซึ่งขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมา ใช้ กล่าวคือ พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เพิ่มขึ้นให้สามารถเขียนแทนเสียงพูดของคำในภาษาไทยได้ทุกคำ กับทั้งได้นำสระและพยัญชนะมาอยู่ในบรรทัดเดียวกันโดยไม่ต้องใช้พยัญชนะซ้อน กัน ทำให้เขียนและอ่านหนังสือไทยได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น

วรรณกรรม

วรรณกรรมสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสูญหายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 1835) ซึ่งแม้จะมีข้อความเป็นร้อยแก้ว แต่ก็มีสัมผัสคล้องจองทำให้ไพเราะซาบซึ้งตรึงใจ เช่น คำพูด|...ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย...เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด
นับเป็นวรรณคดีเริ่มแรกของกรุงสุโขทัยซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบันโด อย่างไรก็ดี ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา มีข้อสงสัยทางวิชาการว่าศิลาจารึกดังกล่าวจะมิได้ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และมีผู้เสนอว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพบศิลานั้นเมื่อเสด็จจาริกธุดงค์ เป็นผู้ทรงทำศิลานั้นขึ้นเพื่อเหตุผลทางการเมืองในการสร้างประวัติศาสตร์ ชาติไทยให้ชาติตะวันตกเห็นว่ามีและรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน เป็นการป้องปัดภัยการล่าอาณานิคมในสมัยนั้น ทั้งนี้ข้อสงสัยนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

อ้างอิง

  • ตรี อมาตยกุล. (2523, 2524, 2525 และ 2527). "ประวัติศาสตร์สุโขทัย." แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี, (ปีที่ 14 เล่ม 1, ปีที่ 15 เล่ม 1, ปีที่ 16 เล่ม 1 และปีที่ 18 เล่ม 1).
  • ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1. (2521). คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
  • ประเสริฐ ณ นคร. (2534). "ประวัติศาสตร์สุโขทัยจากจารึก." งานจารึกและประวัติศาสตร์ของประเสริฐ ณ นคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน.
  • ประเสริฐ ณ นคร. (2544). "รามคำแหงมหาราช, พ่อขุน". สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน, (เล่ม 25 : ราชบัณฑิตยสถาน-โลกธรรม). กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติ้ง. หน้า 15887-15892.
  • ประเสริฐ ณ นคร. (2534). "ลายสือไทย". งานจารึกและประวัติศาสตร์ของประเสริฐ ณ นคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน.
  • เจ้าพระยาพระคลัง (หน). (2515). ราชาธิราช. พระนคร : บรรณาการ.
  • อุดม ประมวลวิทย์. (2508)" "50 กษัตริย์ไทย". สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

พ่อขุนผาเมือง

พ่อขุนผาเมือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พ่อขุนผาเมือง
พ่อขุน ผาเมือง.jpg

พระปรมาภิไธย พ่อขุนผาเมือง
พระอิสริยยศ เจ้าเมืองราด และกษัตริย์แห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถม [1]
ราชวงศ์ ราชวงศ์ศรีนาวนำถม
รัชกาลก่อน พ่อขุนศรีนาวนำถม (กษัตริย์แห่งสุโขทัย (ราชวงศ์ศรีนาวนำถม) ก่อนถูกขอมยึดอำนาจ)
รัชกาลถัดไป -
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชบิดา พ่อขุนศรีนาวนำถม [2]
พระราชมารดา ไม่พบ
พระมเหสี พระนางสิงขรเทวี
พระนางเนาวรงค์เทวี
พ่อขุนผาเมือง เป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดผู้หนึ่งในการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย[3] เป็นผู้นำอพยพไพร่พลจากบริเวณลุ่มน้ำคาย เมืองเชียงทอง หรือล้านช้าง หลวงพระบาง นำไพร่พลมาตั้งเมืองใหม่ริมลำน้ำพุง ตั้งแต่บ้านหนองขี้ควาย มาจนถึงบริเวณวัดกู่แก้ว สถาปนาอาณาจักรขึ้นให้เรียกว่าเมืองลุ่ม อาณาจักรแห่งนี้เดิมอยู่ในเขตอิทธิพลของขอม
นอกจากนั้นยังปรากฏหลักฐานในนิทานโบราณคดีของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ ทรงสันนิษฐานว่า เหตุจะเกิดเมืองหล่มเก่า เห็นจะเป็นด้วยพวกราษฎรที่หลบหนีภัยอันตรายในประเทศล้านช้าง มาตั้งซ่องมั่วสุมกันอยู่ก่อน แต่เป็นที่ดินดีมีน้ำบริบูรณ์เหมาะแก่การทำเรือกสวนไร่นาและเลี้ยงโคกระบือ จึงมีพวกตามมาอยู่มากขึ้นโดยลำดับจนเป็นเมือง แต่เป็นเมืองมาครั้งสุโขทัย มีปรากฏในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า เมืองลุ่ม ต่อมาภายหลังมาเรียกว่าเมือง หลุ่ม และยังเป็นอีกท่านที่กอบกู้แผ่นดินเอาไว้

อ้างอิง

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
Monument of King Taksin in Wat Kungtapao.jpg

พระบรมนามาภิไธย สิน
(ดูเพิ่ม...)
พระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมราชาที่ 4
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา[1]
ราชวงศ์ ราชวงศ์ธนบุรี
ครองราชย์ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 - 6 เมษายน พ.ศ. 2325
บรมราชาภิเษก 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310
รัชกาล 15 ปี
รัชกาลก่อน สถาปนากรุงธนบุรี
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ก่อนหน้า
รัชกาลถัดไป สิ้นกรุงธนบุรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ถัดมา
วัดประจำรัชกาล วัดอินทารามวรวิหาร[2]
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ 22 มีนาคม พ.ศ. 2277[3][4]
17 เมษายน พ.ศ. 2277
สวรรคต 6 เมษายน พ.ศ. 2325[3][5]
พระราชบิดา หยง แซ่แต้ (鄭鏞)[6]
พระราชมารดา กรมพระเทพามาตย์ (นกเอี้ยง)
พระมเหสี กรมหลวงบาทบริจา
กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์
พระราชบุตร 30 พระองค์[7]
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (จีน: 鄭昭; พินอิน: Zhèng Zhāo; แต้จิ๋ว: Dênchao) มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นกเอี้ยง ภายหลังเป็นกรมพระเทพามาตย์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา[1] เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อมีพระชนมายุได้ 48 พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปี พระราชโอรส-พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 30 พระองค์[7]
พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การกอบกู้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น และยังทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกก๊กต่าง ๆ ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแผ่นดินไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราช

พระปรมาภิไธย

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระนามเรียกที่แตกต่างกัน ดังนี้
  • เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงใช้พระนามว่า "พระศรีสรรเพชร สมเด็จบรมธรรมิกราชาธิราชรามาธิบดี บรมจักรพรรดิศร บวรราชาบดินทร์ หริหรินทร์ธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณรุจิตร ฤทธิราเมศวร บรมธรรมิกราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศร์ โลกเชษฏวิสุทธิ์ มกุฏประเทศคตา มหาพุทธังกูร บรมนาถบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกนพรัฐ ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศมหาสถาน"[8]
  • พระราชพงศาวดาร กรุงศรีสัตนาคนหุต เรียกว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ
  • พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) เรียกว่า พระบรมหน่อพุทธางกูรเจ้า
  • จดหมายเหตุกรุงธนบุรีในสมุดไทยดำ ชื่อพระราชสาสน์และศุภักษรโต้ตอบกรุงธนบุรีและกรุงศรีสัตนาคนหุตจุลศักราช 1140 ใช้ พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตร และ พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรุทอิศวรบรมนาถบรมบพิตร
  • ตอนปลายรัชกาล พระรัตนมุนี ได้ถวายพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระสยามยอดโยคาวจร
  • พระราชพงศาวดาร ฉบับราชหัตถเลขา เรียกว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4
  • พระนามที่เรียกกันตามหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป เรียกว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
  • ประชาชนทั่วไปขนานนาม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระราชประวัติก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์

พระราชสมภพและขณะทรงพระเยาว์

ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีชาวจีนแต้จิ๋วคนหนึ่งนามว่า หยง แซ่แต้ (鄭鏞)[6] (นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้อธิบายว่า ไหฮอง หรือ ไฮ้ฮง หรือ ไห่เฟิง (海豐) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแต้จิ๋ว มิใช่ชื่อของพระราชบิดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) [6] เป็นผู้อพยพมาจากเมืองเฉิงไห่ ซัวเถา[9] ครั้นเมื่อถึงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2277 ได้มีบุตรชายคนหนึ่ง ได้ชื่อว่า สิน (信) เกิดแต่ นาง นกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาวไทย ซึ่งต่อมาได้รับเฉลิมพระนามเป็นกรมพระเทพามาตย์[10] สำหรับถิ่นกำเนิดของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้นน่าจะเกิดในแถบภาคกลางมากกว่าเมืองตาก ซึ่งมักว่ากันว่าอยู่ในกรุงศรีอยุธยา[11]
จากหลักฐานที่อาลักษณ์ของจีนจดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารวงเช็ง แผ่นดินจักรพรรดิเฉียนหลง กล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ไว้ว่า "บิ ดาเจิ้งเป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ไปทำมาค้าขายอยู่ที่เสียมล่อก๊ก [暹羅國; ประเทศไทย] และเกิดเจิ้งเจา [鄭昭; สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี; สำเนียงปักกิ่ง] ที่นั่น เมื่อเจิ้งเจาเติบใหญ่ เป็นผู้มีความสามารถ ได้เข้ารับราชการอยู่ในเสียมล่อก๊ก เมื่อเจิ้งเจารบชนะพม่า ฯ แล้ว ราษฎรทั่วประเทศยกขึ้นเป็นเจ้าครองประเทศ..." [12]
สำหรับการศึกษาของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะทรงได้เคยบวชเรียนมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ทรงสามารถแต่งกลอนบทละครและอุดหนุนการเก็บรวบรวมคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา ในภาษาไทยและภาษาบาลีครั้นเมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว[13] ส่วน อภินิหารบรรพบุรุษ ระบุว่า เด็กชายสินได้เล่าเรียนหนังสือในวัดโกษาวาส สำนักของพระอาจารย์ทองดี อีกทั้งยังได้อุปสมบท และยังศึกษาภาษาต่างประเทศเป็นจำนวนมากในระหว่างเป็นมหาดเล็ก[14] เพียงแต่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าพระองค์ตรัสได้ 4 ภาษา คือ ไทย จีน ญวน และลาว[13]

อาชีพค้าขาย

นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้อธิบายว่า พระราชบิดาของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีน่าจะประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก มิใช่นายอากรบ่อนเบี้ย เป็นคำอธิบายที่ว่าเหตุใดพระองค์จึงไม่ทรงประมูลอากรสืบต่ออาชีพจากบิดา จึงน่าจะเป็นพ่อค้าเกวียนมากกว่า[15] ทั้งนี้ พระองค์และพรรคพวกเป็นกลุ่มพ่อค้าเร่ร่อนในแถบหัวเมืองเหนือ[16] การเป็นพ่อค้าดังกล่าวทำให้พระองค์มีชาวจีนเข้ามาสมัครเป็นพรรคพวก และมีความเชี่ยวชาญในภูมิอากาศและภูมิประเทศแถบหัวเมืองเหนือ และทำให้ทรงมีความสามารถด้านการรบอีกทางหนึ่ง[17] การค้าขายดังกล่าวจึงเป็นโอกาสให้พระองค์สามารถเป็นเจ้าเมืองตากได้ ซึ่งตรงกับตามประสงค์ที่จะเป็นเจ้าเมืองของพระองค์ด้วยเช่นกัน[18]

รับราชการในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ

สำหรับการรับราชการเป็นเจ้าเมืองตากนั้น พระราชพงศาวดารฉบับหนึ่งได้กล่าวไว้ในทำนองว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงวิ่งเต้นให้ได้รับตำแหน่งเจ้าเมืองตาก โดยติดต่อผ่านทางมหาดเล็กถึงพระยาจักรี สมเด็จพระเจ้าเอกทัศทรง ทราบว่าเจ้าเมืองตากคนก่อนป่วยตาย จึงให้พระยาจักรีหาผู้มีสติปัญญาพอจะรับตำแหน่งแทน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้เป็นเจ้าเมืองตาก[19] ส่วนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวินิจฉัยว่า พระองค์ทรงเคยเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากก่อนที่จะทรงได้รับการเลื่อนตำแหน่ง[20]
ครั้นเมื่อกองทัพพม่ายกมารุกรานกรุงศรีอยุธยา ได้ยกทัพผ่านเมืองตาก พระยาตากเห็นสู้ไม่ไหวจึงได้นำไพร่พลลงมาช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา[21] ทั้งยังปรากฏในพงศาวดารว่า พระยาตากมีความชอบในการนำทหาร 500 นาย มาช่วยป้องกันพระนคร จึงได้รับพระราชทานของบำเหน็จ[22] ในระหว่างการปิดล้อมนั้นก็ได้ปรากฏฝีมือเป็นนายทัพเข้มแข็ง ปฏิบัติงานตามคำสั่งของราชการ

สร้างกลุ่มชุมนุมและกอบกู้เอกราช

เส้นทางเดินทัพของเจ้าตากครั้งกอบกู้เอกราช
ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่านั้น หัวเมืองฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้ และตะวันตก ล้วนถูกควบคุมอย่างเข้มงวด การทำมาหากิน การทำไร่ทำนา ทรัพย์สิน วัวควาย ถูกยึดไว้หมด[23] จนกระทั่งในช่วงกลางดึกของคืนวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2309 (ก่อนกรุงแตกประมาณ 3 เดือน) นั้น กองทัพพม่ายิงถล่มพระนครศรีอยุธยาอย่างหนัก เกิดเพลิงลุกไหม้ทั่วพระนคร บ้านเรือ วัด วัง ได้รับความเสียหาย เฉพาะบ้านเรือนราษฎรเกิดเพลิงไหม้กว่า 10,000 หลัง[24] ทว่ากลางวันของวันที่ 3 มกราคมนั้นกองกำลังของสมเด็จพระเจ้าตากสินเมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น พระยาตาก ได้รวบรวมไพร่พลจำนวน 1,000 นาย[25] หนีออกจากกรุงศรีอยุธยามาก่อนแล้ว จึงได้เห็นแสงเพลิงลุกไหม้ในกรุงศรีอยุธยาที่บ้านสัมบัณฑิตในเวลาเที่ยงคืน ของวันนั้น โดยมีนายทหารคนสำคัญในกองทัพคือ พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยอาสา หลวงราชสเน่หา ขุนอภัยภักดี (ทั้ง 5 นายนี้มักปรากฏอยู่เคียงข้างพระบรมราชานุสาวรีย์หลายแห่ง) พระองค์ตั้งค่ายอยู่ในค่ายวัดพิชัย[26] ได้เริ่มออกเดินทางมาถึงบ้านหารตราเมื่อเวลาค่ำ โดยมีกองทัพพม่าไล่ติดตามมา แล้วต่อรบกันจนพม่าพ่ายแพ้กลับไป ก่อนจะเดินทางมาถึงบ้านข่าวเม่า บ้านสัมบัณฑิต ตอนเวลาเที่ยงคืน
เช้าวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2309 กองกำลังเดินทางมุ่งหน้าไปทางบ้านโพสังหาร พม่าส่งกองทัพไล่ติดตามมาอีกจึงได้รบกันจนพม่าแตกพ่ายกลับไป มาถึงบ้านพรานนกเวลาเย็น คราวนี้พม่าส่งไพร่พลมาแก้มือถึง 2,000 นาย ฝ่ายพระยาตากจึงทรงม้ากับทหารอีก 4 ม้าออกรับศึก จนสามารถตีพม่าแตกพ่ายกลับไปอีกครั้ง วันนี้เหล่าทหารม้าจึงถือเอาเป็น วันทหารม้า ของไทย[27]
วันที่ 3 ของการเดินทัพ กองกำลังพระยาตากเดินทัพมาสุดเขตพระนครศรีอยุธยา ก่อนที่จะเข้าเมืองนครนายก ก็มีขุนชำนาญไพรสนฑ์กับนายกองช้าง มาขอสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ ทั้งยังถวายช้างพลาย 5 ช้าง ช้างพัง 1 ช้าง แล้วอาสานำทางต่อไปยังบ้านกง (หรือบ้านดง) เมืองนครนายก เมื่อถึงบ้านกง ข้าราชการ ขุนหมื่นพันทนายท้องถิ่น ไม่ยอมสวามิภักดิ์ แม้จะได้เจรจาเกลี้ยกล่อม 3 ครั้ง ก็ไม่สำเร็จ รุ่งขึ้นกองกำลังพระยาตากจึงต้องปะทะไพร่พลชาวบ้านกง ซึ่งมีกำลังมากกว่า 1,000 นาย แต่ก็ถูกกองกำลังพระยาตากตีพ่ายไป ยึดช้างได้เพิ่มอีก 7 ช้าง เงินทอง และเสียงอาหารอีกจำนวนมาก วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2509 หรือ 6 วันนับตั้งแต่หนีออกจากพระนคร เดินทัพมาถึงตำบลหนองไม้ชุ่ม แล้วหยุดพัก ณ จุดนี้เป็นเวลา 2 วัน ก่อนที่จะออกเดินทัพต่อมถึงบ้านนาเริ่ง แขวงเมืองนครนายกแล้วหยุดพักอีก 1 คืน
ต่อมาพระยาตากจึงนำไพร่พลข้ามแม่น้ำที่ด่านกบแจะ เมืองปราจีนบุรี แล้วหยุดพักรี้พล ก่อนจะเดินทัพต่อไปยังทุ่งศรีมหาโพธิ์ และต้องหยุดรอนายทหาร 3 นาย คือ พระเชียงเงิน ขุนพิพิธวาที และสมเด็จพระรามราชา ที่ตามกองทัพมาไม่ทัน ระหว่างที่ทรงรอกลุ่มพระเชียงเงินอยู่นั้น ได้เกิดการปะทะกับกองทัพทั้งทัพบกทัพเรือของพม่าซึ่งตั้งอยู่ที่ปากแม้น้ำ โจ้โล้ เมืองฉะเชิงเทรา "พม่าไล่แทงฟันคงซึ่งเหนื่อยล้าอยู่นั้นวิ่งหนี มาตามทาง ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็น จึงให้นายบุญมีขึ้นม้าใช้สวนทางลงไปประมาณ 200 เส้น พบกองทัพพม่ายกขึ้นมาแต่ปากน้ำโจ้โล้ทั้งทัพบกทัพเรือ"[28] พระเจ้าตากจึงมีรับสั่งให้ตั้งแนวรับ ขุดหลุมเพลาะ วางปืนตับ เรียงหน้ากระดาน จนพม่าเข้ามาใกล้ราว 240 เมตร จึงเริ่มเปิดฉากยิงขึ้น แนวแรกของพม่าแตกพ่ายไป แต่ยังมีกองหนุนเข้ามาอีก 3 กอง ซึ่งก็ถูกยิงแตกพ่ายไปเช่นกัน "จึงขับพลทหารโห่ร้องตีฆ้องสำทับไล่ติดตามฆ่าพม่าเสียเป็นอันมาก แล้วก็เดินทัพมาทางบ้านหัวทองหลางสะพานทอง"[29] จากแนวทะทะและการติดตามฆ่าพม่ามาทางปากน้ำโจ้โล้นี้เอง ทำให้เปลี่ยนจากการเดินทัพตามชายป่าดงมาเป็นชายทะเลเข้าเขตเมืองชลบุรี "จึงให้ยกพลนิกายมาประทับตามลำดับ บ้านทองหลาง, ตะพานทอง, บางปลาสร้อย ถึงบ้านนาเกลือ"[28]
ที่บ้านนาเกลือ มีนายกลม (หรือนายกล่ำ) นายชุมนุมที่บ้านนาเกลือได้รวบรวมไพร่พลคิดสกัดต่อรบกับกองกำลังพระเจ้าตาก แต่เพียงพระเจ้าตากแสดงแสนยานุภาพ "เสด็จทรงช้างพระที่นั่งสรรพด้วยเครื่องสรรพาวุธทรงพระแสงปืนต้นรางแดงกับหมู่พลโยธาหาญ" เท่านั้นนายกลมก็ถึงกับวางอาวุธ ยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี แล้วอาสานำไป พัทยา นาจอมเทียน ทุ่งไก่เตี้ย สัตหีบ ชายทะเล บ้านหินโขง และบ้านน้ำเก่าแขวงเมืองระยอง โดยพักทัพคืนละแห่งตามลำดับ[30] ระหว่างเส้นทางที่ผ่านไปนั้นได้ปะทะกับกองกำลังของพม่าหลายครั้ง แต่ก็สามารถตีฝ่าไปได้ทุกครั้ง และสามารถรวบรวมไพร่พลตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ได้มากขึ้น
หลังจากพระองค์ยึดเมืองระยองได้ ขณะพักอยู่บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล[31] ได้เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์พายุหมุนจนบิดต้นตาลเป็นเกลียวโดยไม่คลายตัว ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ตาลขด[32] บรรดาทหารทั้งหลายต่างก็ยกพระยาวชิรปราการเป็น เจ้าตาก ภายหลังจากเดินทัพออกจากวัดพิชัย 23 วัน[33] พระองค์ได้มีพระราชปณิธานว่า "กรุงเทพ มหานครคงจะเสียแก่พม่าเป็นแท้ ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรในแขวงเมืองหัวเมืองตะวันออกทั้งปวงให้ได้มาก แล้ว จะยกกลับเข้าไปกู้กรุงห้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจักทำนุบำรุงสมณพราหมณาประชาราษฎรซึ่งอนาถาหาที่พำนักบ่มิได้ ให้ร่มเย็นเป็นสุขานุสุข และจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชตนาการไพบูลย์ขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้น ให้คนทั้งหลายนับถือยำเกรงจงมาก การซึ่งจะก่อกู้แผ่นดินจึงจะสำเร็จโดยง่าย"[34] การประกาศตั้งตัวขึ้นในครั้งนี้มีศักดิ์เทียบเท่าพระบรมวงศานุวงศ์ อย่างไรก็ตาม ก็อาจพิจารณาจากแนวคิดทางการเมืองได้เช่นกันว่า พระยาตากประกาศตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินนับตั้งแต่ยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว[35] เจ้าตากมุ่งยึดเมืองจันทบูร[36] ซึ่งก่อนเข้าตีเมือง ได้มีรับสั่งให้ทหารทุกคนทำลายหม้อข้าวให้หมด หมายจะให้ไปกินข้าวในเมืองจันทบูร[37] จนตีได้เมืองจันทบูรเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310[38] หลังจากนั้น ก็มีผู้คนสมัครใจเข้ามาร่วมด้วยกับพระองค์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเมืองจันทบูรและเมืองตราดไม่ถูกยึดครองโดยทหารพม่า
พระเจ้าตากทรงรวบรวมกำลังพลจนมีจำนวน 5,000 นาย จึงได้ยกกองทัพเรือออกจากจันทบูร ล่องมาตามฝั่งทะเลในอ่าวไทย จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อสู้จนยึดธนบุรีคืนจากพม่าได้ นายทองอิน เจ้าเมืองธนบุรีซึ่งพม่าแต่งตั้งให้นั้น ถูกประหารชีวิต[39][40] ต่อจากนั้น ได้ยกกองทัพเรือต่อไปถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าโจมตีค่ายโพธิ์สามต้นจนสามารถขับไล่ทหารพม่าออกจากอาณาจักรได้ และสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากการยึดครอง ใช้เวลาเพียงเจ็ดเดือนหลังเสียกรุง[41]